และครั้งล่าสุดนี้ในการประชุมใหญ่มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ของตัวแทนจากทั่วภูมิภาคเอเซีย จัดขึ้นที่ประเทศไทย เดมเลอร์ได้ประกาศความชัดเจนเกี่ยวกับ DCVT และ FUSO สำหรับตลาดประเทศไทยอีกก้าวหนึ่ง
ไมเคิล เคมเปอร์ รองประธานอาวุโส หัวหน้าฝ่ายการตลาด การขาย และการบริการลูกค้ารถบรรทุกในภูมิภาคเอเชียของ มิตซูบิชิ ฟูโซ่ ทรัคแอนด์บัส คอร์ปอเรชั่น ได้อธิบายให้เห็นภาพรวมของผลิตภัณฑ์ภายใต้หลังคาของเดมเลอร์ทั้งหมดทั่วโลก ก่อนชี้แจงถึงตลาดประเทศไทยของเดมเลอร์ในส่วนของรถเพื่อการพาณิชย์ที่จะถูกดูแลบริหารจัดการโดย DCVT เดมเลอร์ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิล (ประเทศไทย) ซึ่งประกอบด้วยรถบรรทุก FUSO, รถบรรทุกเมอร์เซเดส เบนซ์ และ เมอร์เซเดส เบนซ์ บัส
ภาระกิจสำคัญของ DCVT คือการนำพาแบรนด์ FUSO ให้โลดแล่นในตลาดประเทศไทย ไมเคิล เคมเปอร์ กล่าวว่าตลาดประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับ FUSO เพื่อแสดงออกให้เห็นว่า FUSO มีความมั่นใจและตั้งใจที่จะดำเนินการในประเทศไทยอย่างแท้จริง FUSO จะจัดตั้งโรงงานประกอบรถ FUSO ขึ้นในประเทศไทย โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณสี่ร้อยห้าสิบล้านบาท คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตได้ในปี 2562
ซาช่า ริคาเน็ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดมเลอร์ คอมเมอร์เชียล วีฮีเคิลส์ (ประเทศไทย) หรือ ดีซีวีที กล่าวว่า ตามกลยุทธ์ทางการตลาดของเดมเลอร์ทั่วโลกในการรวมธุรกิจรถบรรทุกแบรนด์ฟูโซ่และเมอร์เซเดส-เบนซ์ เข้าไว้ด้วยกันภายใต้บริษัท ดีซีวีที ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าในตลาดประเทศไทยโดยระยะแรกโรงงานนี้จะประกอบรถบรรทุกขนาดใหญ่แบรนด์ ฟูโซ่ รุ่น FJ2528C เป็นอันดับแรก รวมทั้งโรงงานมีภาระกิจหลักในเบื้องต้นอย่างชัดเจนที่จะดำเนินการผลิตเพื่อสนับบสนุนตลาดประเทศไทยเป็นหลัก
แน่นอนว่าการหยุดชะงักในช่วงเวลาเกือบสองปีที่ผ่านมาในการทำตลาดของ FUSO ในประเทศไทย ฉุดให้การเดินหน้าชลอตัวลงจนเกือบจะหยุดนิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและคู่ค้าของ FUSO ว่านับแต่นี้ไปจะเป็นก้าวย่างไปสู่ความมั่นคง และ FUSO จริงจังกับตลาดประเทศไทย ซึ่งซาช่า กล่าวอย่างชัดเจนว่าตลาดประเทศไทยมีความสำคัญมาก ในช่วงแรกนี้ยอดขายไม่ใช่สิ่งที่คาดหวังได้มาก แต่ FUSO ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้อย่างรัดกุม โดยเป็นไปทีละขั้น
ตั้งแต่ปี 2017 ที่ Asian Trucker เข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาที่ FUSO จัดขึ้นภายใต้การดำเนินการของ DCVT เราเห็นหลายอย่างที่น่าสนใจ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกรายละเอีดยที่จะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าของ FUSO
ถัดจากนั้นในปี 2018 FUSO ได้เปิดให้ลูกค้าได้สัมผัสอย่างกับผลิตภัณฑ์ FUSO อย่างใกล้ชิด ด้วยการทดสอบบนสนามที่ FUSO สร้างขึ้น และการเปิดราคาขายที่น่าสนใจ ก้าวไปทีละก้าวอย่างเช่นที่ซาช่ากล่าว นอกจากโปรดักซ์แล้วยังมีในเรื่องของพาร์ทเนอร์ คู่ค้า พันธมิตรที่เข้ามาทำงานร่วมกัน ยังมีในเรื่องของอะไหล่ที่พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบ รวมไปถึงในส่วนสำคัญอย่าง FUSO ลิสซิ่ง เรียกว่าครบวงจร
ก้าวย่างที่สำคัญต่อเนื่องในไตรมาสสามของปีนี้คือ การแสดงออกอย่างชัดเจนที่สุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดนั่นคือประกาศลงทุนสร้างโรงงานประกอบขึ้นในประเทศไทย ในเขตพื้นที่ EEC ซึ่งแน่นอนว่าเกิดประโยชน์ในหลากหลายด้านกับอุตสาหกรรมรถเพื่อการพาณิชย์และการขนส่งในตลาดประเทศไทย FUSO ยืนยันชัดเจนว่าต้องการก้าวต่อไปในตลาดประเทศไทย และเป็นก้าวย่างที่ต้องการมุ่งไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคงและยืนยาวพร้อมๆ กันกับลูกค้าและคู่ค้าของ FUSO
ในส่วนของช่องทางการขายและงานบริการซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ผู้แทนจำหน่าย ศูนย์บริการ FUSO จะเพิ่มขึ้นเป็น 24 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบัน 12 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะมีในหลากหลายมิติ อาทิ ศูนย์ที่ดูแลเพียงเฉพาะ FUSO และดูแลทั้ง FUSO และ เมอร์เซเดส เบนซ์ ทรัคส์ เมื่อถูกถามว่าเป้าหมายหลักของ FUSO สำหรับตลาดประเทศไทย ซาช่า ตอบว่า ต้องการขึ้นมาเป็นที่สามของตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ แน่นอนว่าการจะไปสู่จุดนั้น FUSO ย่อมกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของตนเองไว้แล้ว ซึ่งได้แสดงออกต่อลูกค้าของ FUSO แล้วอย่างชัดเจนมาเป็นลำดับ ล่าสุดคือการประกาศลงทุนสร้างโรงงานประกอบรถ FUSO ในประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนสี่ร้อยห้าสิบล้านบาท